ระบบ OPD (Out-Patient Department) หรือ ระบบบริหารจัดการแผนกผู้ป่วยนอก คือคำทางการแพทย์ที่ใช้เรียกกลุ่มผู้ป่วยนอก โดยสามารถจำแนกได้จากกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าทำการรักษา แต่ไม่ต้องนอนพักรักษาตัวค้างคืน รักษาเสร็จสามารถกลับบ้านได้เลย ส่วนมากเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีปัญหาสุขภาพร้ายแรง และไม่ต้องเฝ้าดูอาการ
หน้าที่หลักของระบบ OPD
- ลงทะเบียนผู้ป่วย เช่น ชื่อ, อายุ, เลขบัตรประชาชน, ประวัติเบื้องต้น เป็นต้น
- จัดคิวเข้าพบแพทย์ โดยสามารถบริหารจัดการเวลานัด, คิวตรวจ หรือเรียงลำดับตามลักษณะฉุกเฉิน
- บันทึกการรักษา โดยสามารถกรอกประวัติการรักษา, วินิจฉัยโรค, ใบสั่งยา, ใบนัดติดตามผล ได้ในระบบ
- สั่งจ่ายยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ โดยการเชื่อมโยงกับแผนกจ่ายยา เพื่อเตรียมยาให้ตรงกับใบสั่งยาของแพทย์
- เรียกเก็บเงิน / ออกใบเสร็จ โดยระบบสามารถคำนวณค่าใช้จ่าย รวมถึงเชื่อมโยงกับสิทธิประกัน, สิทธิ สปสช., ข้าราชการ ฯลฯ
- ออกใบรับรองแพทย์หรือใบรายงานผล ในกรณีต้องการเอกสารทางการแพทย์ เช่น ใบรับรองแพทย์ หรือผลตรวจต่าง ๆ

IPD และ OPD แตกต่างกันอย่างไร
IPD (In-Patient Department) หรือ ระบบบริหารจัดการแผนกผู้ป่วยใน เป็นลักษณะของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือคลินิกเวชกรรม ที่ต้องเข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาลติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
OPD (Out-Patient-Department) หรือ ระบบบริหารจัดการแผนกผู้ป่วยนอก สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัว สามารถกลับบ้านได้เลย
ติดต่อสอบถาม รายละเอียดโปรแกรมคลินิก Line: @easyapp
เก็บข้อมูลแบบ ‘ระบบ’ ดีกว่าอย่างไร
- ค้นหาข้อมูลได้รวดเร็ว เพราะไม่ต้องใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลเยอะ แค่พิมพ์ชื่อผู้ป่วยหรือเลขประจำตัว ก็สามารถเห็นข้อมูลได้อย่างครบถ้วนภายในไม่กี่วินาที
- เพิ่มความสะดวกในการเก็บข้อมูล สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แยกหมวดหมู่ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องวุ่นวายกับการจัดเรียงเอกสารหลายแผ่นอีกต่อไป
- ลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนหลักหรือต้นทุนแฝง ช่วยให้เซฟต้นทุนต่าง ๆ ได้มากขึ้น ถือเป็นการลงทุนระยะยาวที่สามารถเห็นผลลัพธ์ และมีความคุ้มค่าระยะยาว
- มีความปลอดภัย เพราะสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงได้ เช่น แพทย์ดูข้อมูลการรักษาได้เท่านั้น เจ้าหน้าที่ดูได้เฉพาะประวัติคนไข้เบื้องต้นได้
- ทำงานร่วมกันได้หลายฝ่าย แพทย์, พนักงานต้อนรับ, การเงิน, ผู้บริหาร สามารถดูข้อมูลส่วนที่เกี่ยวข้องได้ทันที นอกจากนั้นข้อมูลยังมีความเรียลไทม์ และแม่นยำ
- ดูข้อมูลย้อนหลังและวิเคราะห์ได้ โดยระบบสามารถแสดงสถิติคนไข้, รายรับ, การใช้ยา หรือการนัดหมายย้อนหลังได้อย่างแม่นยำ

เก็บข้อมูลแบบเอกสารมีผลเสียอะไรบ้าง
- เสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหาย ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุสุดวิสัยอย่าง ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือการจัดเก็บผิดที่ ไปจนถึงการเสื่อมสภาพของกระดาษตามกาลเวลา
- จัดการและค้นหายาก ทั้งยังต้องใช้เวลาเป็นอย่างมากในการค้นหาข้อมูลลูกค้าจากแฟ้มหรือกองเอกสารจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาเพิ่มมากขึ้น
- เปลืองพื้นที่จัดเก็บ เพราะหากมีแฟ้มเอกสารจำนวนมาก จำเป็นต้องมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บแฟ้มเอกสารอย่างเพียงพอ และเนื่องจากเอกสารอาจเพิ่มเยอะขึ้นเรื่อย ๆ อาจส่งผลให้สถานที่จัดเก็บไม่เพียงพอได้
- ความซับซ้อนในการเก็บข้อมูล เพราะข้อมูลอาจมหลายหมวดหมู่ จึงจำเป็นต้องอาศัยความแม่นยำ ต้องมีความเข้าใจที่ตรงกันต่อคนทั้งองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถเป็นไปได้ยากในองค์กรที่มีบุคลากรเยอะ
- ต้นทุนแฝง แม้จะเริ่มต้นด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ แต่กลับเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นค่ากระดาษ ค่าหมึกพิมพ์ ค่าเครื่องถ่ายเอกสาร ค่าซ่อมบำรุง ค่าจัดส่งเอกสาร ไปจนถึงค่าสถานที่ในการจัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
- ไม่เหมาะกับงานที่ต้องใช้งานร่วมกัน ซึ่งหากต้องการใช้งานร่วมกันครั้งละหลาย ๆ คนอาจต้องมีการถ่ายเอกสารขึ้นมาใหม่ เนื่องจากไม่สามารถใช้งานพร้อมกันได้หลายคนเหมือนระบบดิจิทัล
- ข้อมูลไม่ปลอดภัย สำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญหรือข้อมูลเฉพาะกลุ่มงาน โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลอาจถูกนำไปเผยแพร่ได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ง่าย

🔄 สรุปเปรียบเทียบ

ด้านที่เปรียบเทียบ | เอกสาร | ระบบดิจิทัล |
---|---|---|
ความรวดเร็วในการค้นหา | ❌ ช้า | ✅ เร็วมาก |
พื้นที่จัดเก็บ | ❌ เปลือง | ✅ ประหยัด |
ความปลอดภัยของข้อมูล | ❌ ต่ำ | ✅ สูง |
ความสามารถในการใช้งานร่วมกัน | ❌ ยาก | ✅ ง่าย |
ความสะดวกในการจัดเก็บ | ❌ วุ่นวาย | ✅ เป็นระบบ |
ต้นทุนในระยะยาว | ❌ สูง | ✅ คุ้มค่า |
การวิเคราะห์ข้อมูล | ❌ ทำได้ยาก | ✅ มีสถิติให้ใช้ |
หากคุณเป็นคลินิก โรงพยาบาล หรือองค์กรที่ยังใช้เอกสารกระดาษเป็นหลัก การเปลี่ยนมาใช้ระบบจัดการข้อมูลดิจิทัล คือหนึ่งในการลงทุนที่ “คุ้มค่าในระยะยาว” ทั้งในแง่ของเวลา ต้นทุน และความปลอดภัย
ต้องการระบบจัดการข้อมูลคนไข้ที่ใช้งานง่ายและปลอดภัย?
📌 EasyApp Clinic ช่วยคุณได้
แอดไลน์: @easyapp
สอบถามโทร: 062-4655-222